วันพุธที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2557

หยิน-หยาง

                     ยาสีฟันตามสภาวะ หยิน-หยาง ของร่างกาย
หยิน-หยาง เย็นร้อนเป็นของคู่กัน พระอาทิตย์คู่พระจันทร์ ผู้ชายคู่กับผู้หญิง กลางวันและกลางคืน ไฟกับน้ำ กลิ่นหอมกับกลิ่นเหม็น ขาวกับดำ ฯลฯ โลกนี้ประกอบไปด้วยของคู่กันมากมายทั้งช่วยเสริมสร้างซึ่งกันและกันหรือทำลายกันไม่สิ้นสุด ร่างกายมนุษย์ประกอบกันขึ้นมาได้ต้องพึ่งพา อาหาร อากาศ อารมณ์ ออกกำลังกายเพื่อให้กล้ามเนื้อได้ทำงานโดยไม่ติดขัดแข็งแรง และโอสถเพื่อรักษาชีวิตให้ดำรงค์อยู่ ส่วนอาภรณ์ทำหน้าที่ปกป้องร่ายกายจากความหนาว ร้อน ฝุ่นทราย จนพัฒนามาเป็นแฟชั่นเพื่อความงามและแสดงสถานะทางสังคม
ร่างกายมนุษย์เกิดสภาวะหยินหรือหยางได้ตลอดเวลา ภาวะที่เกิดจากการกินอาหารที่ให้ความร้อนความเย็นต่อร่างกาย ความเครียด ความโกรธ ความผิดหวัง ความสมหวัง ฯลฯ เหล่านี้สามารถก่อให้เกิดภาวะหยินหรือหยางได้แสดงออกมาในรูปของความสุข ความทุกข์ โรคภัยใข้เจ็บต่างๆ รวมทั้งความซึมเศร้า อาการเหล่านี้ล้วนมีผลต่ออวัยวะของร่างกายทั้งสิ้น
ภาวะปากเป็นแผลร้อนใน ส่วนใหญ่เกิดจากการกินอาหารประเภทของทอด ของมัน ซึ่งอาหารเหล่านี้มีสภาวะเป็นหยางทำให้ร่างกายเกิดความร้อนเกินจึงเกิดแผลพุพองภายในช่องปาก นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดโรคกระเพาะอาหารด้วยลักษณะเดียวกันแต่แสดงผลได้ช้ากว่า
ภาวะปากเหม็นจากการกินเนื้อสัตว์ซึ่งมีสภาวะเป็นหยาง ทำให้เกิดความร้อนในร่างกายและหากย่อยสลายไม่หมดก็จะเกิดภาวะเน่าเปื่อยในช่องท้องเป็นเหตุให้เกิดกลิ่นปากได้ น้ำตาลก็มีสถานะเป็นหยางด้วยเช่นกันทั้งยังเป็นอาหารอันโอชะของแบคทีเรียที่ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นด้วย เครื่องปรุงสำเร็จพร้อมปรุงก็มีส่วนทำให้เกิดกลิ่นปากได้เช่นกันโดยเฉพาะกินเป็นประจำจะเกิดการสะสม อาหารประเภทที่ต้องใช้น้ำสต๊อกเช่น ก๋วยเตี๋ยวน้ำก๋วยเตี๋ยวราดหน้า บะหมี่สำเร็จรูปต่างๆ ท่านลองสังเกตุดู
เนื่องจากร่างกายแสดงสภาวะหยินหรือหยางได้ไม่แน่นอนตลอดเวลาตลอดชีวิต ปากซึ่งเป็นต้นทางในการลำเลียงอาหารก็มีสภาวะที่เปลี่ยนแปลงไม่คงที่เช่นเดียวกัน เช่น บางครั้งปากแห้ง บางครั้งเป็นแผล บางครั้งมีกลิ่นปาก บางครั้งเสลดเยอะ บางครั้งปากรู้สึกร้อน ฯลฯ จากความรู้เหล่านี้ทำให้เกิดแนวคิดยาสีฟันสำหรับสภาวะหยิน
หรือหยาง เพื่อให้ใช้กำจัดกลิ่นปากได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยแบ่งออกมาเพิ่มเป็น ๑.หยิน-หยางขาว
๒.หยิน-หยางแดง ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะกับสภาวะร่างกายในขณะนั้น ซึ่งบอกได้ยากว่าเป็นหยินหรือหยาง จึงต้องลองสลับใช้ดู ในการนี้ได้จัดไว้ให้เป็นชุดเพื่อให้ได้ตามสภาวะร่างกาย โดยในชุดประกอบด้วย ๑.ผงหอมทิพย์หัวใจสีน้ำเงิน
๒.ผงหอมทิพย์หยินขาว ๓.ผงหอมทิพย์หยินแดง ซึ่งเมื่อใช้แล้วท่านเหมาะสมกับสูตรใดหรือชอบสูตรใดโดยเฉพาะ ท่านสามารถสั่งเฉพาะสูตรนั้นๆมาใช้ได้ตามต้องการ
คุณลักษณะของผงหอมทิพย์
ผงหอมทิพย์หัวใจสีน้ำเงิน ใช้ทั่วไปไม่เน้นความเป็นหยินหรือหยางของร่างกาย
ผงหอมทิพย์หยินขาว ใช้ในกรณีที่มีสภาวะเป็นหยางมากไป ซึ่งจะมีลักษณะไร้ฟอง
ผงหอมทิพย์หยินแดง ใช้ในกรณีที่มีสภาวะเป็นหยินมากไป  ซึ่งจะมีลักษณะไร้ฟอง
อาการหยินหรือหยางน้อยไป คร่าวๆ
อาการหยินน้อยไป ได้แก่ ปากแห้ง นอนไม่หลับ ปัสสาวะสีเข้ม ขี้ร้อนหงุดหงิด เป็นต้น
อาการหยางน้อยไป ได้แก่ ไม่ค่อยอยากน้ำ ง่วงนอน ปัสสาวะใส ขี้หนาว เป็นต้น
หมายเหตุ จากการเรียกร้องของผู้ใช้ผงหอมทิพย์เป็นประจำต้องการสูตรใหม่ๆเพิ่มเติม จึงได้คิดค้นขึ้นมาเพื่อสนองความต้องการและคำนึงถึงประสิทธิภาพในการดูแลช่องปากของท่านตามที่ท่านได้ไว้วางใจผงหอมทิพย์มาด้วยดี หวังว่าผงหอมทิพย์สูตรหยิน-หยาง สามารถช่วยดูแลช่องปากจากกลิ่นเหม็น ฟันโยกคลอน แผลร้อนใน ฟันผุ ฯได้เป็นอย่างดี


ยาสีฟันตามสภาวะ หยิน-หยาง ของร่างกาย==> กลับไปหน้าผงหอมทิพย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น